ท่อดักท์ในระบบปรับอากาศใช้งานอย่างไร มีอุปกรณ์เสริมอะไรบ้าง

เหตุผลที่ต้องใช้บริการติดตั้งหัวจ่ายแอร์ของซาป๊ะ เอ็นจิเนียริ่ง

 

ท่อดักท์ ทางเดินลมในระบบปรับอากาศที่ต้องติดตั้งใช้งานให้สมบูรณ์เพิ่มคุณภาพบรรยากาศในพื้นที่

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน หรืออาคารใด ๆ หากจะทำการติดตั้งระบบระบายอากาศ ระบบปรับอากาศ Ventilation System เพื่อให้เกิดการไหลเวียน ถ่ายเทอากาศภายในอาคาร นำส่งความเย็น ควบคุมความร้อน ความชื้น กลิ่น ปรับอุณหภูมิ สร้างบรรยากาศในพื้นที่ให้รู้สึกสบาย ไม่อึดอัด ควบคุมสิ่งปนเปื้อน มลพิษในอากาศและไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อผู้พักอาศัย ต้องได้รับการออกแบบจากวิศวกรเฉพาะทางและดำเนินการจากผู้รับเหมาที่มีความชำนาญ จึงจะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในการทำระบบปรับอากาศ ระบายอากาศนั้นจะประกอบไปด้วย ส่วนงานฮู้ด (Hood) ส่วนงานท่อดักท์ (Duct) ส่วนงานเครื่องทำความสะอาดอากาศ (Air Cleaner) และส่วนงานพัดลม (Fan) ซึ่งในแต่ละส่วนงานถือได้ว่ามีความสำคัญกับระบบปรับอากาศไม่แพ้กัน บทความนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับส่วนงานท่อดักท์ให้มากขึ้น ไปดูกันว่า ท่อดักท์ในระบบปรับอากาศใช้งานอย่างไร มีอุปกรณ์เสริมอะไรบ้าง ไปติดตามกันได้เลย ลักษณะของงานระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศที่ดี ได้รับการออกแบบ ติดตั้ง ดำเนินการ จากผู้เชี่ยวชาญ จะประกอบด้วยลักษณะเด่น ดังต่อไปนี้

  1. ระบบปรับอากาศ ระบายอากาศที่ดีจะสามารถควบคุมระดับสิ่งปนเปื้อนในอากาศให้อยู่ในระดับที่กำหนด ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่อาศัย
  2. ระบบปรับอากาศ ระบายอากาศที่ดีจะสามารถควบคุมความร้อน ความชื้นในพื้นที่ทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยรู้สึกสบาย ไม่อึดอัด ไม่หงุดหงิด ก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ผลิตงานได้คุณภาพ รวมถึงลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน
  3. ระบบปรับอากาศ ระบายอากาศที่ดีจะสามารถระบายสารเคมี ไอระเหย รวมถึงดักจับวัสดุที่ฟุ้งกระจาย ช่วยป้องกันการระเบิดและอัคคีภัย สร้างอากาศบริสุทธิ์ บรรยากาศภายในพื้นที่ปลอดภัย ไม่มีมลพิษ
  4. ระบบปรับอากาศ ระบายอากาศที่ดี จะต้องมีการใช้อุปกรณ์ประกอบ อุปกรณ์เสริมที่มีคุณภาพ ผ่านมาตรฐาน ได้รับการออกแบบตามหลักวิศวกรรม มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็น ฮู้ด ท่อดักท์ หน้ากากแอร์ พัดลม เป็นต้น
  5. ระบบปรับอากาศ ระบายอากาศที่ดีจะต้องสามารถซ่อมบำรุงรักษาได้ง่าย เพื่อการใช้งานในระยะยาว สุขอนามัยที่ดีของผู้อาศัย ไม่เกิดปัญหายุ่งยากตามมาภายหลัง
  6. ระบบปรับอากาศ ระบายอากาศที่ดีจะต้องประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนได้

 

หากการออกแบบติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบายอากาศ สามารถทำให้เกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วนจากข้อมูลเหล่านี้แล้ว ก็จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้งานที่มีประสิทธิภาพได้มากที่สุด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการมีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ อย่างท่อดักท์ได้ด้วยเช่นกัน

 

ท่อดักท์ในระบบปรับอากาศใช้งานอย่างไร

ท่อดักท์ (Duct) ท่อส่งลม หรือท่อดักท์แอร์ เป็นส่วนงานหนึ่งในระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยนำพาอากาศ เติมอากาศ ช่องทางสำหรับส่งลมไปจ่ายในจุดต่าง ๆ ของอาคาร สามารถควบคุมความเร็วและปริมาณอากาศได้ ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำอากาศเก่าหรืออากาศที่ไม่บริสุทธิ์ออกไปด้วย ท่อส่งลมเย็น ท่อระบายอากาศ มีหลากหลายรูปทรง เช่น ท่อดักท์ชนิดกลม ท่อดักท์ชนิดเหลี่ยม ท่อดักท์สไปรัลหรือท่อดักท์เกลียว ท่อลมอ่อนหรือท่อเฟล็กซ์ ท่อดักส์ลมกึ่งแข็ง เป็นต้น ผลิตจากวัสดุหลากหลายประเภท สังกะสี สแตนเลส ฉนวนหุ้มท่อ ท่อ PID ต้องเลือกใช้งานให้เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพการทำงานและการประหยัดพลังงานของระบบ โดยท่อดักท์จะถูกติดตั้งบนเพดาน หลังคา สูงบ้าง ต่ำบ้าง หรือถูกซ่อนไว้ใต้ฝ้าหรือติดตั้งแบบเปลือยเพื่อง่ายต่อการบำรุงรักษาถือเป็นส่วนหนึ่งของงานตกแต่งภายในไปด้วย ท่อดักท์แต่ละชนิด แต่ละประเภท จะมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน อาทิเช่น

  • ท่อดักท์ แบบท่อสไปรัล (Spiral Round Duct) หรือท่อเกลียว เป็นท่อดักท์สำเร็จรูปชนิดกลมมีตะเข็บ 2 ชั้น เป็นเกลียวตลอดแนวเพื่อเสริมความแข็งแรง เหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรงสูง โชว์ผิวงานวัสดุแบบเปลือยได้ สามารถหุ้มฉนวนหรือทำสีก็ได้เช่นกัน ใช้สำหรับงานระบายอากาศ ระบายความร้อน ควัน ไอเสีย ดูดฝุ่น ท่อลำเลียง และส่งลมจ่ายลมเย็นในระบบปรับอากาศ พบได้ตามหอประชุม ห้างสรรพสินค้า มีทั้งแบบผลิตจากสังกะสี ทนอุณหภูมิได้ -40 ถึง 250 องศาเซลเซียส และสแตนเลส ทนอุณหภูมิได้สูง -40 ถึง 450 องศาเซลเซียส น้ำหนักเบา ลักษณะตีเกลียวความยาว 3 เมตรต่อท่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 3 นิ้วไปจนถึง 80 นิ้ว เลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม ติดตั้งง่าย ประหยัดมากกว่าท่อดักท์แบบอื่นใช้อุปกรณ์ประกอบน้อยกว่า มีความแข็งแรง ทนทาน ทนแรงดันแรงดูดได้ดี ตัวอย่างงานเช่น ท่อดักท์ลมต่อจากแอร์ AHU, ท่อดักท์ลมต่อจากแอร์เปลือย, ท่อดักท์ลมต่อจากแอร์น้ำเย็น, ท่อดักท์ลมต่อจากพัดลมไอเย็น, ท่อดักท์ลมในห้องครัว, ท่อดักท์ดูดกลิ่น ดูดควัน เป็นต้น
  • ท่อดักท์เหลี่ยม (Rectangular Duct) ท่อดักท์ส่งลมลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขนาดขึ้นอยู่กับการออกแบบตามความต้องการ สามารถสั่งทำได้ตามรูปแบบที่เหมาะสม ใช้กับงานทั่วไป ประหยัดพื้นที่ สวยงาม กลมกลืนเข้ากับอาคารได้เป็นอย่างดี วัสดุเคลือบสังกะสีหรือสแตนเลส ใช้ร่วมกับข้อต่อลักษณะต่าง ๆ เพื่อยึดแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน
  • ท่อดักท์กลม (Round Duct) เป็นท่อดักท์ที่ทำจากวัสดุสังกะสีหรือสแตนเลส การไหลของอากาศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ติดตั้งง่าย ราคาไม่แพง หาอะไหล่ได้ง่าย
  • ท่อดักท์ แบบท่อเฟล็กซ์ (Flex) เป็นท่อดักท์สำเร็จรูปอีกชนิดหนึ่ง วัสดุเป็นอลูมิเนียม สามารถดัด โค้ง งอ ได้ตามลักษณะหน้างาน ยืดหยุ่นสูง ใช้งานง่าย ติดตั้งได้สะดวก ทนอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -30 ถึง 250 องศาเซลเซียส เหมาะกับส่งลมร้อนหรือลมเย็น ดูดกลิ่น ควัน ก๊าซ มีทั้งชนิดท่อเฟล็กซ์อ่อนและแข็ง
  • ท่อดักท์ PID Pre-Insulated Duct ท่อดักท์หุ้มฉนวนสำเร็จรูป ผลิตขึ้นมาสำหรับงานระบบปรับอากาศโดยเฉพาะ ผลิตจากวัสดุโพลีไอโซไซยานูเรต ลักษณะเป็นแผ่นฉนวนกันความร้อนแบบแข็งที่ประกบด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์สองด้าน กันความชื้นและการกัดกร่อน ใช้งานอุณหภูมิระหว่าง -50 ถึง 140 องศาเซลเซียส การติดตั้งง่ายกว่าวัสดุอื่น ๆ ลดปัญหาเสียงดังรบกวน ฝุ่น ติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร

 

หน้าที่ของท่อดักท์ที่ทำการติดตั้งนั้น แบ่งออกได้เป็น 4 แบบ ดังนี้

  1. ท่อดักท์ที่ทำหน้าที่จ่ายลมเย็น เป็นท่อดักท์ที่นำพาอากาศจากคอยล์เย็นไปจ่ายยังส่วนต่าง ๆ ของอาคารเพื่อลดอุณหภูมิบริเวณนั้น ๆ ท่อดักท์จะถูกหุ้มด้วยฉนวนกันความร้อนป้องกันการควบแน่น เกิดหยดน้ำเกาะที่ตัวท่อดักท์
  2. ท่อดักท์ที่ทำหน้าที่ดึงลมกลับ ลักษณะภายนอกคล้ายกับท่อดักท์จ่ายลมเย็นแต่ทำหน้าที่ดูดเอาอากาศที่จ่ายออกจากท่อดักท์จ่ายลมเย็น ที่เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนโดยมีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้วกลับมาที่จุดเริ่มต้นบริเวณจุดคอยล์เย็น เพื่อให้แลกเปลี่ยนความร้อน ลดอุณหภูมิลง แล้วส่งไปจ่ายยังส่วนต่าง ๆ ของอาคารอีกครั้ง วนเข้าสู่กระบวนการเดิม
  3. ท่อดักท์ที่ทำหน้าที่ระบายอากาศ ระบายอากาศภายในพื้นที่ ปล่อยทิ้งสู่ภายนอกอาคาร ไม่หุ้มฉนวน
  4. ท่อดักท์ที่ทำหน้าที่เติมอากาศให้กับห้องหรือพื้นที่นั้น ๆ เมื่อมีการระบายอากาศไปสู่ภายนอกจึงต้องมีการเติมอากาศเข้าไป เพื่อให้เป็นระบบระบายอากาศที่สมบูรณ์ ไม่หุ้มฉนวน แต่มักทาสีให้กลมกลืนกับอาคาร

 

Duct Accessories อุปกรณ์เสริมสำหรับงานท่อดักท์

ในการติดตั้งท่อดักท์ จะมีอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ปลีกย่อยเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับประเภท รูปแบบ ชนิด ในการติดตั้ง อาทิเช่น

  • มอเตอร์แดมเปอร์ (Motor Damper) ตัวควบคุมการเปิดปิดแดมเปอร์หรือมอเตอร์ขับแดมเปอร์ใช้สำหรับการควบคุมการเปิดปิด ควบคุมปริมาณอากาศในระยะไกล ปรับการไหลของอากาศไม่ให้ไปยังบริเวณที่ไม่มีการใช้งานหรือปรับปริมาณลมให้มีอุณหภูมิ ความชื้นในระดับที่เหมาะสมตามห้องต่าง ๆ ทำให้เกิดการระบายอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดพลังงาน มีจอแสดงสถานะการทำงานทั้งขณะเปิดและปิด มีหลายแรงบิดให้เลือกใช้ มีทั้งแบบไฟกระแสตรงและไฟกระแสสลับ อาทิ ไฟ AC220V 50Hz แรงบิดที่ 16NM สั่งเปิดปิดแดมเปอร์ขนาด 3 ตร.ม. ได้โดยใช้เวลาประมาณ 21.5 วินาที และแบบใช้ไฟ DV24V ใช้เวลาเปิดสุด 38.5 วินาที เป็นต้น สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม มักใช้กับอาคารขนาดใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการควบคุมอากาศที่แม่นยำ ผลิตจากวัสดุคุณภาพ มีความทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน การบำรุงรักษาน้อย
  • แดมเปอร์ (Damper) เป็นบานหรือช่องควบคุมปริมาณลมหรือเรียกว่า แผ่นปรับปริมาณลม ใช้สำหรับควบคุมการไหลเวียนของลม การไหลของอากาศในระบบปรับอากาศ ในท่อดักท์ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศได้ดียิ่งขึ้น แดมเปอร์มีหลายชนิด ทั้งสามารถควบคุมปริมาณลม ควบคุมควัน หรือป้องกันไฟลาม ได้ด้วย ผลิตขึ้นรูปจากวัสดุคุณภาพ สังกะสี เหล็กชุบสังกะสี สแตนเลส ทนทานต่อการกัดกร่อน มีทั้งชนิดรูปทรงเหลี่ยมใช้การปรับปริมาณลมแบบมือโยกหรือหมุนเปิด ขนิดรูปทรงกลม(กระบอก)ใช้การปรับปริมาณลมแบบมือโยกหรือหมุนเปิด สไลด์แดมเปอร ์ เช็คแดมเปอร์หรือกันย้อน หรือปรับตั้งการปรับปริมาณลมด้วยระบบอัตโนมัติ สามารถปรับระดับการไหลของอากาศได้อย่างละเอียด ช่วยให้ประหยัดพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพระบบปรับอากาศโดยรวม รับกับสภาวะแวดล้อมที่หนักหน่วง ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม
  • แคลมป์ (Clamps) ใช้ยึดสายท่อยางเข้ากับหัวต่อท่อดักท์ ป้องกันการรั่วไหลของของเหลว ลักษณะวงกลม วัสดุอลูมิเนียม หรือทองเหลือง
  • เข็มขัดรัดท่อ (Hose Clamps) ใช้ยึดท่อเข้ากับข้อต่อ สายยาง ท่อเฟล็กซ์ ท่อพลาสติก วัสดุสแตนเลส
  • ปะเก็นโฟม (Duct Tape) ลักษณะเป็นโฟมยืดหยุ่น ผลิตจากโพลีเอททีลีน ถือเป็นฉนวนกันความร้อนที่มีน้ำหนักเบา กันชื้น กันฝุ่น ใช้งานง่ายแค่ลอกกาวออก อุดรอยต่อของท่อดักท์ ลดปัญหาการควบแน่นป้องกันการเกิดหยดน้ำบริเวณผิวท่อ
  • ฉนวนหุ้มท่อดักท์ (Insulator) เป็นฉนวนใยแก้วพร้อมกับเทปอลูมิเนียม ใช้หุ้มท่อดักท์ทั้งภายในหรือภายนอก สำหรับควบคุมอุณหภูมิภายในให้คงที่และป้องกันการเกิดหยดน้ำบริเวณผิวของท่อเป็นสาเหตุทำให้เกิดการรั่วซึมได้
  • คอเนอร์ (Corner) เป็นตัวเข้ามุมเชื่อมต่อท่อดักท์ วัสดุเหล็กชุบสังกะสี ปั๊มขึ้นรูป เพิ่มความเป็นระเบียบ สวยงาม
  • กิ๊ฟล็อค (Clip Lock) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยึดหน้าแปลนท่อดักท์แต่ละอันเข้าด้วยกัน
  • หนามติดฉนวน ใช้สำหรับติดบนท่อดักท์เพื่อยึดเกาะกับฉนวนหุ้มท่อดักท์
  • อื่น ๆ เช่น ข้อต่อ หมวกกันฝนสแตนเลส ท่อเฟล็กซ์ ฟิตติ้ง คอนเนคเตอร์ ฝาครอบ ฮูดดูดควัน เป็นต้น

 

ท่อดักท์ในระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่จะช่วยนำพาอากาศ ลมเย็น ไปส่งยังพื้นที่ต่าง ๆ ของอาคาร สำนักงาน จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน พื้นที่ งบประมาณ รูปแบบ ขนาด ประเภท วัสดุ ฉนวนกันความร้อน การติดตั้ง แม้กระทั่งความชอบของเจ้าของพื้นที่ด้วย ดังนั้นต้องได้รับการออกแบบ ติดตั้งจากผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างดี เพื่อประสิทธิภาพที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่ บริษัท ซาป๊ะ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย ท่อดักท์ หน้ากากแอร์ หัวจ่ายแอร์ พัดลมฟาร์ม พัดลมอุตสาหกรรม พัดลมยักษ์ตั้งพื้น พัดลมอุตสาหกรรม พัดลมระบายอากาศ พัดลมโบลเวอร์ อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ ระบายอากาศแบบครบวงจร มีมาตรฐาน รวมทั้ง หัวจ่ายลม Jet ผลิตภัณฑ์คุณภาพ ราคาพิเศษ ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล หอประชุม อาคาร โกดัง ฟาร์ม ปศุสัตว์ ที่มีประสบการณ์มากว่า 15 ปี พร้อมให้คำปรึกษา แนะนำสินค้าที่เหมาะสม เพื่อการใช้งานที่คุ้มค่า มีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดอายุการใช้งาน เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจในสินค้าและบริการที่เป็นเลิศของเรา

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ท่อดักท์ หน้ากากแอร์ หัวจ่ายแอร์ ติดต่อ

บริษัท ซาป๊ะ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

เลขที่ 27/18 ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์ 0-2101-3846-7, 0-2101-3605  สายด่วน 095-958-2310, 085-482-2861-2
Email: sapaengineer2@gmail.com, salesapa2@gmail.com, salesapa5@gmail.com